วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563
แบบจำลองอะตอม
เมื่อมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาต่อยอดจากความรู้เดิมจึงทำให้แบบจำลองอะตอมมีการเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ไทม์ไลน์ของแบบจำลองอะตอม
1.แบบจำลองอะตอมของ ดอลตัน (1808)
2.แบบจำลองอะตอมของ ทอมสัน (1904)
3.แบบจำลองอะตอมของ รัทเธอร์ฟอร์ด (1911)
4.แบบจำลองอะตอมของ โบร์ (1913)
5.แบบจำลองอะตอม กลศาสตร์ควอนตัม(กลุ่มหมอก) (1926-ปัจจุบัน)
อ่านเพิ่มเติม
สัญลักษณ์นิวเคลียร์
สัญลักษณ์นิวเคลียร์
สัญลักษณ์นิวเคลียร์(Nuclear Symbol) คือ สัญลักษณ์ที่เขียนเพื่อแสดงชื่อธาตุ เลขมวล และเลขอะตอมของธาตุ ซึ่งจะเขียนสัญลักษณ์ธาตุแทนชื่อธาตุไว้ตรงกลาง เขียนเลขอะตอมไว้ที่มุมซ้ายล่างของสัญลักษณธาตุและเขียนเลขมวลไว้ที่มุมซ้ายบนของสัญลักษณ์ธาตุ อ่านเพิ่มเติม
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563
พันธะเคมี
พันธะเคมี
พันธะโลหะ (metallic bonds)
เป็นพันธะซึ่งเกิดขึ้นกับอะตอมของธาตุที่เป็นโลหะ
เกิดขึ้นเมื่ออะตอมของโลหะแบ่งกันใช้อิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอม โดยที่อิเล็กตรอนที่แบ่งกันใช้นี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยสมบูรณ์
และนั่นทำให้มีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอยู่ตลอดเวลา ทุก ๆ
อะตอมของโลหะจึงอยู่ใกล้กับอะตอมอื่นยาวไปอย่างไม่สิ้นสุด
และนั่นทำให้ธาตุโลหะไม่มีสูตรโมเลกุล
- เกิดจาก โลหะ+โลหะ มีค่า IE
ต่ำ
- มีอิเล็กตรอนอิสระเครื่อนที่รอบๆมีแรงยึดสูง
สมบัติของโลหะ
- นำไฟฟ้าได้, นำความร้อนได้ดี
- จุดเดือด, จุดหลอมเหลวสูง
- มีความเหนียว ตีแผ่ได้โดยไม่เปราะแตก
พันธะไอออนิก (Ionic Bond)
เป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมซึ่งมีประจุตรงข้ามกัน
และดึงดูดเข้าหากันจากการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนหนึ่งตัวหรือมากกว่า
จำนวนอิเล็กตรอนซึ่งอยู่วงนอกสุดของอะตอมหนึ่งไปอยู่ร่วมกับกลุ่มอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอีกหนึ่งอะตอม
เพื่อให้จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดของทั้งสองอะตอมครบออกเตต (Octet)
- เกิดจาก โลหะ+อโลหะ
ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงทางไฟฟ้า
- จับตัวเป็นโครงร่างผลึก
- EN ต่างกันมาก ไอออนิกมาก ,ENต่างกันน้อยไอออนิกน้อย(โลหะENต่ำ อโลหะENสูง)
สมบัติของไอออนิก
- จุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงแต่ต่ำกว่าโลหะ
- แตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำ
- เมื่อหลอมเหลวหรือละลายน้ำจะนำไฟฟ้าได้
พันธะโคเวเลนต์ (Covalent
Bond)
เป็นการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมคู่หนึ่ง
ซึ่งอะตอมคู่นี้เป็นอะตอมของธาตุอโลหะ คุณสมบัติของอะตอมธาตุอโลหะคือ มีค่าพลังงานไอออไนเซชั่น
(Ionization) สูง กล่าวคือ
ความสามารถในการยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนเอาไว้ ไม่ยอมปล่อยให้อะตอมอื่นเอาไปใช้ได้
จึงทำให้อะตอมที่มาจับเข้าคู่กันจำเป็นต้องแบ่งปันอิเล็กตรอนกันโดยไม่มีอะตอมไหนสูญเสียอิเล็กตรอนออกไป
โดยหลักแล้วคือ การแบ่งปันโดยยอมให้อะตอมอื่นใช้อิเล็กตรอนได้จำนวนเท่า ๆ
กันกับที่ดึงดูดอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
นั่นก็เพื่อให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมครบจำนวนตามกฎออกเตต
- การเกิด อโลหะ+อโลหะ
- ชนิดของพันธะแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. แบ่งตามจำนวนพันธะ พันธะเดี่ยว
พันธะคู่และพันธะสาม
2. แบ่งตามแรงยึดเหนี่ยว
- ภายนอก H-Bond, แวนเดอร์วาลส์(Dipole-Dipole, แรงลอนดอน)
- ภายใน
ทำให้เกิดปฎิกิริยา
- ความยาว พันธะเดี่ยว > พันธะคู่ > พันธะสาม
- พลังงานพันธะ พันธะเดี่ยว < พันธะคู่ < พันธะสาม
-สภาพขั้วแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. ขั้วพันธะ ไม่มีขั้ว EN เท่ากัน, มีขั้ว EN ไม่เท่ากัน
2. ขั้วโมเลกุล
ถ้าหักล้างกันหมดไม่มีขั้ว O ≤ C ≥ O
-
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ สัญลักษณ์นิวเคลียร์(Nuclear Symbol) คือ สัญลักษณ์ที่เขียนเพื่อแสดงชื่อธาตุ เลขมวล และเลขอะตอมของธาตุ ซึ่งจะเขียนสัญลั...